บทที่ ๑ สื่อทางเลือก สื่อภาคประชาชน และสื่อพลเมือง


                ในการศึกษาเรื่อง สื่อและสิทธิการสื่อสารของประชาชนฟิลิปปินส์” ได้ใช้กระบวนทัศน์ของการสื่อสารประชาธิปไตย (democratic communication) ซึ่งมองเห็นข้อจำกัดของการสื่อสารจากองค์กรสื่อสารมวลชนกระแสหลักที่มุ่งรับใช้ระบบทุนนิยม จนละเลยและมองข้ามความจำเป็นและความต้องการในด้านการสื่อสารของประชาชน ซึ่งมีแนวคิดหรือทฤษฎีในการทำความเข้าใจกับความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น อาจกล่าวได้พอสังเขปในที่นี้

"สื่อทางเลือก"
แนวคิดเรื่องสื่อทางเลือก
คำว่า "สื่อทางเลือก"มีการใช้กันแพร่หลายในปัจจุบันทั้งในด้านสื่อบันเทิงและสื่อสารสนเทศ ความเข้าใจโดยทั่วไปหมายถึงสื่อที่อยู่ตรงกันข้ามกับสื่อกระแสหลักหรือผลผลิตของอุตสาหกรรมสื่อ สำหรับคำนิยาม การจำแนกประเภท และการเรียกชื่อจากมุมมองที่สัมพันธ์กับระบบอำนาจ ทุน และเครือข่ายทางสังคมของประชาชน
ในตำราสื่อมวลชนและวรรณกรรมทฤษฏีสื่อสารมวลชนรุ่นก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ ไม่ปรากฏว่ามีสื่อทางเลือกมากนัก แต่มีคำที่ใช้เรียกสื่อที่ต่อต้านอำนาจรัฐและสื่อที่แสดงความคิดเห็นขัดแย้งกับสื่อส่วนใหญ่ โดยมักถูกเรียกรวมไปกับขบวนการทางการเมือง เช่น หนังสือพิมพ์ฝ่ายซ้าย (leftist press) หรือเรียกตามสถานะที่ถูกปิดกั้นต้องทำงานอย่างหลบซ้อน เช่น เรียกว่าสื่อใต้ดิน หรือเรียกตามจุดยืนที่ประกาศต่อสาธารณะ เช่น หนังสื่อพิมพ์หรือสื่อปฏิวัติ  (revolutionary press /media) หรือเรียกว่า Radical media
ในกรณีที่เป็นสื่อที่แตกต่างแปลกแยกจากสื่ออื่นๆ มาก หนังสือ Key Concepts in Communication and Cultural Studies (1994) ได้ให้คำจำกัดความคำว่า สื่อทางเลือก” ไว้ดังนี้
สื่อทางเลือก หมายถึงรูปของสื่อมวลชนที่ปฏิเสธหรือท้าทายอำนาจการเมืองหรือสถาบันอำนาจอย่างเปิดเผย สื่อเหล่านี้ล้วนแต่ต้องการรณรงค์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมหรืออย่างน้อยก็ตรวจสอบค่านิยมตามประเพณีของสังคมอย่างวิพากษ์
สื่อทางเลือกถูกเรียกว่า สื่อที่แตกต่างอย่างถอนรากถอนโคน หรือสื่อใต้ดิน และยืนอยู่ในฝ่ายตรงข้ามกับสื่อกระแสหลัก โดยเป็นตัวแทนความคิดของลัทธิการเมืองและสังคมที่อยู่นอกกรอบการเมืองของการแสดงฉันทามติ และการโต้แย้งแสดงเหตุผลในระบบรัฐสภา
สื่อชุมชนก็นับได้ว่าเป็นสื่อทางเลือกประเภทหนึ่ง เพราะมักจะสื่อสารแสดงความคิดเห็นและปัญหาของกลุ่มที่มักจะถูกมองข้ามและไม่มีพื้นที่ในสื่อท้องถิ่นและสื่อระดับชาติ
สื่อทางเลือกมักประสบปัญหาเรื่องความอยู่รอด เพราะขาดทุนทรัพย์ บริษัทโฆษณาไม่สนใจลงโฆษณาเนื่องจากเนื้อหาเน้นไปที่ประเด็นใดประเด็นหนึ่งเท่านั้น
(O’Sullivan, et al, 1994 : p.10)

วาทกรรมของคำว่าสื่อทางเลือก ได้สะท้อนกระบวนทัศน์ใหม่ของการสื่อสารและสื่อสารมวลชน ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงแนวความคิดจากการสื่อสารทางเดียวจากบนลงล่าง มาสู่เรื่องการสื่อสารในแนวราบ และสื่อสารแบบมีส่วนร่วม การเปิดให้ประชาชนเข้าถึงสื่อได้โดยตรงและกว้างขวางขึ้น รวมทั้งการมองประชาชนด้วยมุมมองที่แตกต่างไปจากเดิม แทนที่จะมองว่าเป็นผู้รับที่เฉยชาก็เปลี่ยนมามองจากอีกมุมว่า ผู้รับคือ พลเมืองซึ่งมีสิทธิและอำนาจในการสื่อสาร (Servaes, et al., eds, 1996)
ที่ผ่านมาส่อทางเลือกมักถูกนิยามในขั้วตรงข้ามกับสื่อกระแสหลัก สืบเนื่องมาจากปฏิกิริยาที่มีต่อสื่อกระแสหลัก ที่ไม่มีเวทีให้กับความคิดเห็นที่แตกต่างหรือรูปแบบการสร้างสรรค์ศิลปะที่วิพากษ์วิจารณ์สังคม การนิยามแบบคู่ตรงกันข้าม มีข้อดีในแง่ที่ทำให้สามารถมองเห็นและเข้าใจลักษณะของสื่อทางเลือกได้ชัดเจน โดยเทียบเคียงกับลักษณะและองค์ประกอบสำคัญของสื่อกระแสหลัก แต่ในขณะเดียวกัน คำนิยามแบบนี้ก็มีจุดอ่อนที่ไม่เป็นอิสระในตัวเอง สื่อทางเลือกไม่สามารถมีคำนิยามที่สะท้อนอัตลักษณ์ของตนได้ (O Siochru1996)

แผนภูมิที่เปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่างสื่อกระแสหลักและสื่อทางเลือก

Mainstream media สื่อกระแสหลัก

Alternative media สื่อทางเลือก
     ·สื่อพาณิชยนิยม แสวงหากำไรสูงสุด
     ·สื่อนอกระบบพาณิชยนิยม ไม่แสวงหากำไร
     ·เนื้อหาสนับสนุนลัทธิบริโภคนิยม
     ·เนื้อหาตั้งคำถาม / ต่อต้านลัทธิบริโภคนิยม
     ·เนื้อหาสนับสนุนขั้วอำนาจใหญ่ของสังคม
     ·เนื้อหาขัดแย้ง / ต่อต้านขั้วอำนาจใหญ่ของสังคม
     ·มีขนาดใหญ่ จัดรูปองค์กรแบบบริษัท
     ·มีขนาดเล็ก จัดรูปองค์กรแบบสหกรณ์ / มูลนิธิ
     ·มีโครงสร้างและกระบวนการทำงานแบบบนลงล่าง
     ·มีโครงสร้างและกระบวนการทำงานแบบประชาธิปไตย
     ·เจ้าหน้าที่เป็นนักสื่อสารมวลชนทำงานแบบมืออาชีพ
     ·เจ้าหน้าที่อาจเป็นมืออาชีพ หรือเป็นอาสาสมัคร
     ·ความสัมพันธ์ระหว่างผู้รับสารกับสื่อเป็นแบบผู้ซื้อกับผู้บริโภค
     ·ความสัมพันธ์ระหว่างผู้รับสารกับสื่อเป็นแบบมีส่วนร่วม เช่น เป็นเจ้าของ เป็น          สมาชิก เป็นผู้ร่วมผลิต



Independent / Indy Media    สื่ออิสระ … เป็นอิสระจากรัฐและทุน วิธีคิด รูปแบบ เนื้อหามีความเป็นอิสระมากกว่าสื่อกระแสหลัก

แนวคิดเรื่องสื่อพลเมืองและสื่อภาคประชาชน
                จากแนวความคิดเรื่องสิทธิการสื่อสาร มีนักวิชาการหลายคนได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสื่อภาคประชาชน ซึ่งมักเรียกว่า สื่อทางเลือก หรือสื่อพลเมือง หรือชื่ออื่นๆ เช่น สื่อราดิคัล (radical media) สื่อเพื่อการปลดปล่อย (medias libres) สื่อเพื่อการมีส่วนร่วม (participatory media) สื่อชุมนุม (community media) และสื่อรากหญ้า (grassroots media)
                ความหมายของสื่อทางเลือกราดิคัล อาจหมายถึงสื่อขนาดเล็ก หลากหลายประเภทและรูปแบบ เป็นสื่อของคนกลุ่มน้อย สื่อของกลุ่มชาติพันธุ์ สื่อศาสนา หรือกลุ่มทางสังคม การเมือง แต่การระบุชนิดของสื่อหรือกลุ่มคนต่างๆ อาจจะไม่ใช่ทั้งหมดของคำว่าสื่อทางเลือกราดิคัล หัวใจสำคัญอยู่ที่บริบท เป้าหมาย และผลของสื่อเหล่านี้ รวมทั้งกระบวนการทำงานที่ขัดแย้งและไม่ยอมรับกฎเกณฑ์ที่เป็นบรรทัดฐาน มีรูปแบบและเนื้อหาที่บางครั้งโดดเด่น บางครั้งก็น่าเบื่อ แต่มักจะมีปฏิกิริยาตอบรับในทางลบ จากอำนาจรัฐ และสาธารณะชนทั่วไป เนื่องจากเป็นสื่อที่แสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์โครงสร้างอำนาจรัฐและพฤติกรรมของนักการเมืองจากกลุ่มที่อยู่ภายใต้การปกครอง เป็นการสื่อสารรัฐในแนวดิ่ง จากล่างไปสู่บน คุณสมบัติของสื่อทางเลือกราดิคัลอีกประการหนึ่งคือ มีเป้าหมายในการสร้างเครือข่ายการสื่อสารในแนวนอน เพื่อแสวงหาการสนับสนุนและความสมานฉันท์ เพื่อร่วมกันต่อสู้คัดค้านนโยบายของรัฐหรือคัดค้านระบบอำนาจโดยตรง ในองค์กรสื่อทางราดิคัลมักมีความพยายามให้มีรูปแบบองค์กรแบบประชาธิปไตยในระดับใดระดับหนึ่ง ซึ่งแตกต่างไปจากบรรทัดฐานของสื่อกระแสหลัก
(Downing, 2001, p.v-xi)
                ในขณะที่คลาเมนเชีย โรดริเกซ มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสื่อภาคประชาชนมองต่างมุมออกไป เธอให้ความสำคัญต่อพลังและกระบวนการทำงานของสื่อภาคประชาชนในทางการเมืองและสังคม โดยได้เลือกคำว่า สื่อพลเมือง” เพื่อสะท้อนให้เห็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตัวผู้สื่อสารและชุมชนของผู้สื่อสาร นอกจากนี้ เธอยังต้องการก้าวให้พ้นข้อจำกัดในการมองสื่อทางเลือกแบบสองขั้ว คือเห็นสื่อทางเลือกเป็นคู่ตรงข้ามกับสื่อกระแสหลัก ฝ่ายหนึ่งไร้อำนาจ และอีกฝ่ายหนึ่งมีอำนาจ การเลือกใช้คำว่า สื่อพลเมือง” ของโรดริเกซจึงเป็นการฉีกออกไปจากกรอบความคิดเดิม ข้อเสนอของเธอเน้นไปที่ศักยภาพของมนุษย์ในฐานะผู้กระทำ และการเปลี่ยนแปลงความรู้สึกนึกคิดในระดับจิตสำนึก
                สื่อภาคประชาชนจึงเป็นคำที่ให้ความหมายในเชิงสิทธิการสื่อสารของประชาขนโดยตรง ในเรื่องความเป็นเจ้าของคือสื่อของประชาชน ในเรื่องการดำเนินการคือโดยประชาชน และเป้าหมายของการสื่อสารคือเพื่อประชาชน สื่อราดิคัลเป็นทางเลือกที่ให้ความสำคัญกับการสร้างเครือข่ายภาคประชาชนและการสื่อสารที่ต่อต้านนโยบายและโครงสร้างอำนาจรัฐที่ไม่เป็นธรรม ในขณะที่ตำว่า สื่อพลเมืองมุ่งเน้นไปที่การสื่อสารที่มีพลังในการเปลี่ยนแปลงความรู้สึกนึกคิดของพลเมือง ที่จะนำไปสู่ปฏิบัติการทางการเมืองที่พลเมืองเป็นผู้ลงมือกระทำด้วยตนเอง ดังนั้น สื่อทางเลือกราดิคัลและสื่อพลเมืองจึงมองไปที่เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสื่อภาคประชาชนและอำนาจใน ๒ ระดับ คือในระดับปัจเจกบุคคล และระดับรัฐ และใน ๒ ด้านคือ การเพิ่มอำนาจของประชาชนและการก่อกวนขัดขืนอำนาจที่กดประชาชนไว้ หรือสรุปว่าเป็นสื่อที่มีเป้าหมายเพื่อประชาธิปไตย
                คำว่าสื่อพลเมืองยังสะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและสถานะของคนๆ นั้นในสังคมประชาธิปไตย เป็นคำที่เชื่อมโยงความหมายของสื่อกับกระบวนการทางการเมือง สังคมและวัฒนธรรม โดยมีพลเมืองและภาคประชาชนเป็นศูนย์กลางของกระบวนการสื่อสาร ประการสำคัญ เป็นการชี้ให้เห็นถึงศักยภาพของพลเมืองในอันที่จะร่วมกันสร้างโลกทางสัญลักษณ์และโลกทางวัตถุด้วยตนเอง ซึ่งแตกต่างจากกระบวนทัศน์ของแบบเสรีประชาธิปไตยที่เชื่อในระบบการเมืองแบบตัวแทน (Rodriguez, 2001)

แผนภูมิที่ สื่อภาคประชาชน

สิทธิการสื่อสารของประชาชน (people’s right to communicate)











กฎบัตรสิทธิการสื่อสารของประชาชน
-สื่อภาคประชาชน                                                        -สื่อทางเลือกราดิคัล
                                                                   -สื่อพลเมือง
-สิทธิกาสื่อสารโดยตรงของประชาชน                             -สื่อสารจากล่างขึ้นบน (bottom up) เพื่อคัดค้านอำนาจ                                                                                                     รัฐ                        
-สื่อของประชาชนเพื่อประชาชน โดยประชาชน            -สร้างเครือข่ายภาคประชาชนในแนวนอนเพื่อสมานฉันท์
                                                                                      -สร้างสำนึกใหม่ 
                                                                                                  -เพิ่มพลังอำนาจ


จากแนวคิดที่กล่าวมาข้างต้น อาจสรุปได้ว่าสื่อภาคประชาชนให้ความสำคัญกับศักยภาพของสื่อในด้านการปลดปล่อยประชาชนให้เป็นอิสระ สื่อที่ว่าต้องมีคุณสมบัติที่สื่อสารโต้ตอบระหว่างผู้รับและผู้สร้าง หรืออาจะกลับบทบาทกันไปกันมาได้ตลอดเวลา ในการดำเนินการผลิตและการสร้างสรรค์ต้องเป็นกระบวนการของกลุ่มมากกว่าผลงานของปัจเจกบุคคล และเกี่ยวข้องอย่างแท้จริงกับชีวิตและความจำเป็นพื้นฐานของประชาชนธรรมดา (Enzensberger, 1976) หรือกล่าวสั้นๆ ได้ว่า สื่อภาคปาระชาชนคืออาวุธของผู้อ่อนแอ

แผนภูมิที่ 3 เปรียบเทียบประเภทและการเรียกร้องชื่อสื่อทางเลือกและสื่อภาคประชาชน

สื่อทางเลือก                                                                                                        สื่อภาคประชาชน
Alternative media                                                                                             people’s media

-alternative music                                                                                 -radical alternative media
-alternative movies                                                                               -citizen’s media
-indy media                                                                                          -community media
                                                                                                             -civic media
-participatory media
-media libre
-democratic media




กระบวนการทัศน์การสื่อสารที่กล่าวมาข้า'ต้นแสดงให้เห็นมิติใหม่ของการศึกษา และการมองภาคประชาชนในฐานะผู้สื่อสาร ได้อย่างชัดเจน กล่าวคือ ประชาชนได้เปลี่ยนสถานะจากการเป็นผู้บริโภคสื่อ มาเป็นผู้ผลิตสื่อ ซึ่งหมายถึงเป็นผู้สื่อสาร-ส่งสาร ที่มีอำนาจในการควบคุมวาทกรรมในกี่สื่อสารของตนและกลุ่มตนได้โดยตรง ดังจะเห็นได้จากการที่ประชาชนกลุ่มต่างๆ ได้จัดตั้งองค์กรสื่อและขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม ที่รวมเอาเรื่องสนเทศและการสื่อสารเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในแนวทางการทำงานมากขึ้นเรื่อยๆ นับเป็นทิศทางของการก่อตัวของสื่อภาคประชาชนที่เติบโตคู่ขนานไปกับกระบวนการประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม และการสื่อสารแบบประชาธิปไตยที่มีการเคลื่อนไหวอย่างกว้างงขวางอยู่ในปัจจุบันและขอบเขตทั่วโลก


"Communications"

อ้างอิง : สื่อและสิทธิการสื่อสารของประชาชนฟิลิปปินส์. "สื่อทางเลือก สื่อภาคประชาชน และสื่อพลเมือง". 2550.
http://image.ohozaa.com/i/d94/v6KFqi.jpg
http://drphot.com/thinkabout/wp-content/uploads/2011/01/communication.jpg


1 ความคิดเห็น: