บทที่ ๓ สื่อมวลชนฟิลิปปินส์การต่อสู้เพื่อเอกราชและสิทธิเสรีภาพ


         สื่อมวลชนฟิลิปปินส์เป็นส่วนหนึ่งของขบวนการชาตินิยม  ตั้งแต่สมัยที่เป็นอาณานิคมของสเปน  หนังสือพิมพ์และงานเขียนในยุคแรก ๆ ได้สร้างกระแสสำนึกของคนพื้นเมืองให้ตื่นตัวทางการเมือง  และเรียกร้องสิทธิเสมอภาคและการปกครองตนเอง  เรื่องราวของนักหนังสือพิมพ์  ปัญญาชน  และนักปฏิวัติจึงถักทอเป็นเรื่องของนักต่อสู้ในขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อเอกราชของฟิลิปปินส์ แต่บทบาทของสื่อมวลชนในการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพและต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมในสังคม  มิได้จบลงพร้อมกับการได้มาซึ่งเอกราช  ทว่าอุดมการณ์นี้ยังสืบเนื่องมาจนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 สมัยเผด็จการมาร์กอส  ค.. 1972 – 1986 และล่าสุดในสมัยของประธานาธิบดีเอสตราด้า  ซึ่งถูกสื่อมวลชนเปิดโปงเรื่องความร่ำรวยผิดปกติจนสมาชิกสภาคองเกรซต้องยื่นถอดถอนออกจากตำแหน่งใน  ค.. 2000
            ต่อไปนี้จะนำเสนอเกี่ยวกับความเป็นมาของหนังสือพิมพ์และการต่อสู้ของกลุ่มปัญญาชนหนุ่มในขบวนการชาตินิยมช่วงคริตส์วรรษที่ 19 พัฒนาของหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชนในยุคต่อมาภายใต้การปกครองของสหรัฐฯจนฟิลิปปินส์ได้รับอิสระหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และสภาพของสื่อมวลชนในปัจจุบัน
หนังสือพิมพ์ในยุคอาณาจักรสเปน
            หมู่เกาะฟิลิปปินส์ในคริตส์ศตวรรษที่ 16 มีประชากรอาศัยตามชายฝั่งเล็กๆ  ริมแม่น้ำและทะเลสาบ  กลุ่มคนเหล่านี้มีภาษาพูดและภาษาเขียนของตนเอง  โดยเขียนบันทึกไว้บนกระดาษที่ทำจากเยื่อไผ่  แต่ไม่มีหนังสือหรืองานเขียนขนาดใหญ่ในรูปอื่นๆ  การพิมพ์เริ่มต้นขึ้นภายหลังจากที่กองเรือสเปนเข้ายึดครองดินแดนแห่งนี้เป็นอาณานิคม  มิชชันนารีสเปนได้พิมพ์หนังสือเกี่ยวกับศาสนาคริตส์และแปลเป็นภาษาตากาล็อกใน ค.. 1593  สิ่งพิมพ์ฉบับแรกที่จัดว่าเป็นต้นแบบของหนังสือพิมพ์ในยุคต่อมาคือ  Succesos Felices (Fortunate Eventsหรือ “ข่าวดี”  พิมพ์โดย  ปินปิน (Pinpin)  ใน ค.. 1637
            หากกล่าวถึงสื่อมวลชนฟิลิปปินส์ในปัจจุบัน สื่อมวลชนได้รับเสรีภาพคืนมาหลังสงครามยุติ ธุรกิจหนังสือพิมพ์ขยายตัวพร้อมๆ กับกิจการด้านวิทยุและโทรทัศน์ แต่สิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนต้องมาสะดุดหยุดลงอีกครั้งหนึ่งในสมัยประธานาธิบดีมาร์กอส ประกาศกฎอัยการศึกใน ค.. 1972 มีการจับกุมฝ่ายค้าน ปัญญาขน และหนังสือพิมพ์ที่เสนอข่าวและแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล สื่อที่เหลืออยู่ถูกควบคุมอย่างเข้มงวด ไม่เว้นแม้แต่สื่อเล็กๆ ของฝ่ายศาสนจักร รัฐบาลจัดตั้งสภาที่ปรึกษาสื่อขึ้นมาเป็นเครื่องมือควบคุมและเนื้อหาหนังสือพิมพ์ และส่งคนใกล้ชิดเข้าไปถือหุ้น หรือซื้อหนังสือพิมพ์บางฉบับ รวมทั้งสถานีโทรทัศน์บางแห่ง การใช้อำนาจการเมืองเข้าแทรกแซงและควบคุมสื่อมวลชนของรัฐบาลมาร์กอส ทำให้โครงสร้างอุตสาหกรรมสื่อเปลี่ยนโฉมหน้าไปมาก สื่อมวลชนถูกแบ่งฝักแบ่งฝ่าย เป็นกลุ่มที่ใกล้ชิดกับรัฐบาล และกลุ่มที่เป็นอิสระ หนังสือพิมพ์กระแสหลักส่วนใหญ่ลดบทบาทการตรวจสอบรัฐบาล ยอมเปลี่ยนทิศทางในการนำเสนอข่าวสาร และหันไปเน้นข่าวที่มีสีสันเร้าอารมณ์เพื่อเพิ่มยอดขาย
            แต่จากประวัติศาสตร์ของการต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพ ขบวนนิสิตนักศึกษาและสื่อที่ต่อต้านรัฐบาลเผด็จการของประธานาธิบดีมาร์กอสได้เคลื่อนไหวเปิดโปงคอร์รัปชั่น และการลิดรอนสิทธิเสรีภาพอย่างไม่เกรงกลัว จนนำไปสู่การเดินขบวนคัดค้านครั้งใหญ่ภายหลังวุฒิสมาชิกเบนิกโน อะคีโน ถูกยิงเสียชีวิตในค.. 1983 สื่อมวลชนกลุ่มเล็กๆ ที่รัฐบาลเรียกว่า Mosquito Press เป็นกลุ่มที่เสนอข่าวสารทางเลือกแก่ประชาชน รวมทั้งสื่อของฝ่ายศาสนจักรและสื่อชุมชนรูปแบบต่างๆ ทำให้ประชาชนเกิดความตื่นตัวและรวมตัวกันต่อต้านรัฐบาลประธานาธิบดีมาร์กอส

"Gems from the Mosquito Press"


            การต่อสู้เพื่อเอกราชและเสรีภาพ
            สื่อมวลชนฟิลิปปินส์มีประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อเอกราชและเสรีภาพมายาวนานกว่า 150 ปี ภายใต้ระบบอาณานิคมของสเปนและต่อมาของสหรัฐอเมริกา ในยุคแรกๆ หนังสือพิมพ์และปัญญาชนนักเรียนนอกมีบทบาทมากในการสร้างกระแสชาตินิยม เรียกร้องสิทธิเสรีภาพและเอกราช  หนังสือพิมพ์ที่ได้ชื่อว่าเป็นหนังสือพิมพ์กลุ่มต่อต้านเจ้าอาณานิคม เช่น Espana en Filipina, La Solidaridad ได้บุกเบิกถางทางให้แก่ความตระหนักและสำนึกในความเป็นชาติ ขบวนการชาตินิยม และนักต่อสู้และนักชาตินิยม เช่น โฮเซ ริซัล ที่ต่อมาคือวีรชนแห่งชาติของฟิลิปปินส์ได้เขียนนวนิยายการเมืองสำคัญ เรื่อง ปลุกระดมให้ประชาชนมองเห็นสภาพความไม่เป็นธรรมและล้าหลังของสังคมฟิลิปปินส์ และเสนอให้ลุกขึ้นมาปลดปล่อยตนเองให้เป็นอิสระจากความเป็นทาสทางเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม และความคิดของศาสนจักรและผู้ปกครองสเปน
            ประสบการณ์การต่อสู้ในยุคแรกนับว่าสามารถปลูกฝั่งอุดมการณ์สิทธิเสรีภาพมาสู่สื่อมวลชนในยุคต่อๆ มาอย่างได้ผล แม้ว่าสภาพบริบทสังคมและการเมืองจะเปลี่ยนแปลงไปท่ามกลางภาวะสงคราม หรือการประกาศกฎอัยการศึกในสมัยมาร์กอส สื่อมวลชนส่วนหนึ่งยังคงยึดมั่นในการต่อสู้ต่อความไม่เป็นธรรมในสังคมสื่อขนาดเล็กและสื่อใต้ดินได้มีการใช้ภาษาล้อเลียน เสียดสี ข่าวลือ หรือการ์ตูนวิพากษ์วิจารณ์การเมืองและผู้นำ เป็นไปอย่างมีพลัง สร้างกระแสการคัดค้านระบบเผด็จการมาร์กอส
"เกิดการรวมตัวต่อต้านมาร์กอสในกรุงมะนิลาโดยเรียกขบวนการเคลื่อนไหวดังกล่าวว่า

การปฎิวัติโดยพลังประชาชน (People Power Revolution) 

มีประชาชนจำนวนเกือบหนึ่งล้านคนออกมาต่อต้านมาร์กอส "



สังคมการเมืองและระบบสื่อมวลชนมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญหลังจากการปฏิวัติประชาชน ยิ่งไปกว่านั้น จิตสำนึกทางสังคมในการต่อสู้เพื่อเสรีภาพของ ประชาชนฟิลิปปินส์มีโอกาสแพร่กระจายไปยังกว้างขวาง มิได้จำกัดอยู่เฉพาะในกลุ่มสื่อมวลชน ปัญญาชนหัวก้าวหน้า หรือกลุ่มประชาสังคม และกลุ่มการเมืองเท่านั้น แต่สื่อมวลชนและการสื่อสารก็ยังเป็นหัวหอกที่สำคัญในการสร้างความตระหนักรู้ ให้ข้อมูลข่าวสารที่เพิ่มพลังอำนาจแก่ประชาชน การปฏิวัติในครั้งที่ จึงเป็นอีกวาระหนึ่งที่เมื่อสื่อมวลชนนำเสนอรายงานข่าวเจาะลึก สืบสวนสอบสวนถึงความไม่เป็นธรรม และการคอร์รัปชั่นของรัฐบาล ประชาชนสามารถมองเห็นได้โดยไม่ยากว่าตนกำลังตกอยู่ระบบการเมืองที่ฉ้อฉล และ-ภาวะไร้อิสระและเสรี การสื่อสารหลากหลายรูปแบบ เครือข่ายประชาสังคม และสื่อกระแสหลักได้ทำหน้าที่เชื่อมประสานความคิดและพลังทั้งมวลไปสู่การปลดปล่อยให้สังคมเป็นอิสระอีกครั้ง 

อ้างอิง : สื่อและสิทธิการสื่อสารของประชาชนฟิลิปปินส์. "สื่อมวลชนฟิลิปปินส์การต่อสู้เพื่อเอกราชและสิทธิเสรีภาพ". 2550.

http://www.chinaheritagequarterly.org/023/_pix/mosquito_1.jpg
https://lh3.googleusercontent.com/-      dpni6mY7dzw/UDshfjodm0I/AAAAAAAAAX0/P1dVHOMC6Yc/s500/marcos-is-no-hero.jpg


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น