บทที่ ๒ ประวัติศาสตร์และสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรมของฟิลิปปินส์



 สาธารณะรัฐฟิลิปปินส์
ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและวัฒนธรรม
            จากประวิติศาสตร์ของฟิลิปปินส์จะเห็นได้ว่าเป็นสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมซ้อนอยู่ สีดา สอนศรี (๒๕๔๕สรุปว่า “ฟิลิปปินส์ได้รับอิทธิพลด้านภาษาและศาสนาคริสต์โรมันคาทอลิกจากสเปน และได้รับการปลูกฝั่งการเมืองแบบประชาธิปไตยจากสหรัฐฯ คือมีเสรีภาพทางการศึกษา เสรีภาพในสื่อมวลชน เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การต่อต้านสังคมแบบศักดินา หรือสังคมจารีตประเพณี ส่วนวัฒนธรรมที่มี่แต่ดั้งเดิมเป็นเรื่องของระบบครอบครัว ระบบอาวุโส ความผูกพันการช่วยเหลืออุปถัมภ์กันในครอบครัวและเครือญาติ ซึ่งส่งผลเชื่อมโยงกับระบบการสื่อสารที่มีเครือข่ายกว้างขวางและเหลื่อมซ้อนกันของกลุ่มครอบครัวที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน
            อย่างไรก็ดี การเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตกอย่างยาวนานทำให้สังคมฟิลิปปินส์สะสมปัญหาไว้เป็นจำนวนมาก ข้อวิเคราะห์ของฝ่ายซ้ายและพรรคคอมมิวนิสต์ฟิลิปปินส์ชี้ให้เห็นว่าสภาพเศรษฐกิจและการเมืองมีความไม่เป็นธรรมฝังรากลึกอยู่ เนื่องจากมีปัญหาหลายด้าน
            ในการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองหลังเอกราช ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์แต่ละคนจึงต้องพยายามทุ่มเทกำลังในการแก้ไขปัญหาข้างต้น ตัวอย่างเช่น สมัยประธานาธิบดีคิรีโนได้มอบหมายให้นายรามอน แมกไซไซ รัฐมนตรีกลาโหม ถอดชนวนกลุ่มฮุคที่มีกองกำลังติดอาวุธ และได้แก้ปัญหาการบริหารและปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ ผลงานของแมกไซไซในเรื่องนี้ทำให้ให้เขาได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนต่อมา
            ในช่วงศตวรรษ ๑๘๗๐ ฟิลิปปินส์ต้องเผชิญกับปัญหารูปแบบใหม่ คือผู้นำเผด็จการ ในสมัยประธานาธิบดีเฟอร์ดินันด์ มาร์กอส เขาประกาศกฎอัยการศึกเพื่อให้ตนเองสามารถเป็นประธานาธิบดีต่อไปได้อีกหนึ่งสมัย จากนั้นเข้าควบคุมกิจกรรมการเมืองของประชาชน ลิดรอนสิทธิเสรีภาพ จับกุมคุมขัง และทำร้ายนักการเมืองฝ่ายค้าน ปัญญาชน และนักหนังสือพิมพ์ และที่สุดเกิดกรณีสังหารวุฒิสมาชิกเบนิกโน อะคีโน ผู้นำฝ่ายค้าน ทำให้ประชาชนเดินขบวนต่อต้าน กลายเป็นการปฏิวัติประชาชน  ใน .๑๙๘๖ และมาร์กอสถูกขับไล่ออกนอกประเทศ ระหว่างที่อยู่ในตำแหน่ง ๒๑ ปี (.๑๙๖๕-๑๙๘๖)
ชาวฟิลิปปินส์ได้ลุกฮือขึ้นขับไล่ผู้นำเผด็จการ เฟอร์ดินาน มาร์กอส   จนเป็นที่มาของ

“ขบวนการพลังประชาชน” 

            หลังจากที่ประชาชนขับไล่ประธานาธิบดีมาร์กอส นางคอราซอน อะคีโน ภรรยาม่ายของวุฒิสมาชิกเบนิกโน อะคีโน ซึ่งชนะการเลือกตั้ง ได้เข้ารับตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีหญิงคนแรกของฟิลิปปินส์ (.๑๙๙๒-๑๙๙๘เธอได้เข้ามารื้อฟื้นระบบประชาธิปไตย  และเจรจาเรื่องการถอนฐานทัพสหรัฐฯ รวมทั้งการเจรจากับพรรคคอมมิวนิสต์และ Moro National Liberation Front – MNLF ที่มีฐานที่มั่นบนเกาะมินดาเนา
            หลังจากสมัยประธานาธิบดีอะคีโน ประธานาธิบดีฟิเดล รามอส (.๑๙๙๒-๑๙๙๘ได้รับเลือกตั้ง และเข้ามาฟื้นฟูประชาธิปไตยและแก้ไขปัญหาความยากจนต่อ แต่ยังไม่ทันสัมฤทธิผล ฟิลิปปินส์ก็ต้องเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ใน .๑๙๙๗ ดังนั้น เมื่อดาราภาพยนตร์ชื่อดังและวุฒิสมาชิกโจเซฟ เอสตราด้า สมัครรับเลือกตั้งด้วยคำขวัญ “ประธานาธิบดีของคนยากจน เขาจึงได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น อย่างไรก็ดี ประธานาธิบดีโจเซฟ เอสตราด้า (.๑๙๙๘-๒๐๐๑ผู้ซึ่งได้รับความนิยมจากมหาชนอย่างสูง กลับไม่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจการเมืองที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ได้ เขาดำเนินนโยบายที่รุนแรงต่อกลุ่มมุสลิมทางตอนใต้ และพฤติกรรมร่ำรวยผิดปกติ เมื่อสื่อมวลชนเสนอรายงานข่าวที่เปิดโปงให้เห็นการทุจริตหลายอย่าง ทำให้สภาผู้แทนราษฎรเสนอญัตติถอดถอนเขาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดี แต่กระบวนการถอดถอนในสภาไม่ประสบความสำเร็จ ประชาชนจึงชุมนุมเดินขบวนขับไล่ นับเป็นการปฏิวัติประชาชนครั้งที่ 2 ใน .๒๐๐๑
            หลังการปฏิวัติประชาชนครั้งที่ 2 รองประธานาธิบดีกลอเรีย อโรโย สาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี (.๒๐๐๑-๒๐๐๔และได้ชัยชนะจากการเลือกตั้งใน .๒๐๐๔ งานสำคัญของเธอคือการฟื้นฟูเศรษฐกิจและแก้ไขปัญหาขบวนการแบ่งแยกดินแดนของกลุ่ม MILF ในภาคใต้
ประธานาธิบดีกลอเรีย อโรโย  เป็นนักการเมืองฟิลิปปินส์ ที่เคยดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 14 ของประเทศฟิลิปปินส์ระหว่าง ค.ศ. 2001 - ค.ศ. 2010 และรองประธานาธิบดีคนที่ 12 ระหว่าง ค.ศ. 1998 ถึง ค.ศ. 2001

            ทางด้านสังคมและการเมืองภาคประชาชน กลุ่มปัญญาชน และประชาชนที่มีความคิดก้าวหน้าและมีจิตสำนึกชาตินิยมได้มีบทบาทในทางการเมืองตลอดมาตั้งแต่สมัยอาณานิคม ไม่ว่าจะเป็นการเรียกร้องเอกราชจากสเปน หรือต่อต้านสหรัฐฯ ที่เข้ามายึดครองฟิลิปปินส์ต่อจากสเปน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2  ประชาชน ชาวนา และกรรมกร ได้จัดตั้งกองกำลังใต้ดินต่อต้านกองทัพญี่ปุ่น นอกจากนี้กลุ่มการเมืองฝ่ายซ้ายและพรรคคอมมิวนิสต์ มีนโยบายต่อต้านครอบงำทางเศรษฐกิจและการเมืองของมหาอำนาจสหรัฐฯ ซึ่งสยายปีกเป็นเจ้าอาณานิคมใหม่ของโลก แต่ด้วยสภาพแบ่งแยกการเมืองระหว่างประเทศออกเป็นสองขั้วในสมัยสงครรามเย็น ได้ทำให้บทบาทของพรรคคอมมิวนิสต์ถูกกีดกันออกไปจากเวทีการเมือง กลายเป็นพรรคนอกกฎหมาย การต่อสู้จึงมีลักษณะการใช้กองทัพติดอาวุธเพื่อแสวงหามวลชนและทำการปฏิวัติโค่นล้มรัฐบาล เช่นเดียวกับกลุ่มมุสลิมทางตอนใต้ของประเทศที่ต่อสู้ต่อความเป็นธรรม อกลักษณ์ทางวัฒนธรรม และสิทธิในดินแดนที่ชาวมุสลิมเคยครอบครองมานานในมินดาเนาและเกาะอื่นๆ ทางตอนใต้ของประเทศ
            ในช่วงที่มีการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพมากๆ เช่น ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2  หรือช่วงกฎอัยการศึก ประชาชนจะแสวงหาวิธีการต่อต้านระบบและหาทางแสดงความคิดเห็นในรูปแบบต่างๆ การเปิดเวทีสื่อใต้ดิน สื่อขนาดเล็ก หรทอสื่อทางเลือก จึงมีอย่างกว้างขวางหลากหลาย สะสมเป็นวัฒนธรรมต่อต้าน ศิลปินและนักสื่อสารมีการคิดค้นรูปแบบที่สามารถสื่อความหมายและสร้างสำนึกร่วมกันในประเด็นการเมืองสังคม เช่น การใช้การ์ตูน กวีนิพนธ์และบทเพลง ดนตรี ละคร เรื่องตลกขำขัน ทำให้ประชาชนมีโอกาสรับรู้ความจริงและพูดความจริงได้ ประเพณีการสร้างสรรค์สื่อเพื่อต่อต้านและตรวจสอบอำนาจจึงมีการสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น และมีการพัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ ในแต่ละยุคสมัย

            สำหรับการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนโดยทั่วไป เป็นการรวมกลุ่มของเครือข่ายครอบครัว ญาติมิตร และกลุ่มศาสนา มีพระและโบสถ์ในชุมชนเป็นศูนย์รวมในการทำกิจกรรมต่างๆ ในด้านสงเคราะห์และพัฒนา  แต่หลังสมัยมาร์กอส ประชาชนมีการรวมตัวกันมากขึ้นเป็นกลุ่มกิจกรรมในชุมชนและองค์กรพัฒนาเอกชน และใช้วิธีการต่อสู้ในรูปแบบสันติสื่อสารกับสังคมเพื่อเรียกร้องให้มีการแก้ไขปัญหาความยากจน ปัญหาที่ดินทำกิน สิ่งแวดล้อม เกษตรกรรม สาธารณสุข ชนกลุ่มน้อย ฯลฯ ดังนั้นการใช้สื่อเพื่อการพัฒนาและการรณรงค์ปัญหาสังคมจึงมีการพัฒนามาก สมัยประธานาธิบดีอะคีโนได้ให้การสนับสนุนและทำงานร่วมกับภาคประชาชน รวมทั้งได้แต่งตั้งผู้นำขององค์กรพัฒนาเอกชนเข้าร่วมรัฐบาลเพื่อช่วยดำเนินการนโยบายในด้านสังคม การศึกษา และการฟื้นฟูประชาธิปไตย   
เบนิกโน ซีเมออน โกฮวงโก อากีโนที่ 3  หรือรู้จักกันดีในฉายา Noynoy Aquino หรือPNoy คือนักการเมืองฟิลิปปินส์ ที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 15 ของประเทศฟิลิปปินส์และเป็นประธานาธิบดีคนปัจจุบันของประเทศ


อ้างอิง : สื่อและสิทธิการสื่อสารของประชาชนฟิลิปปนส์. "ประวัติศาสตร์และสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรมของฟิลิปปินส์". 2550.
https://iandme2012.files.wordpress.com/2013/11/aabb.jpg
http://www.newmuslimthailand.com/images/Country/Philippines/philippines%20-%20arroyo.jpg
http://www.dailynews.co.th/imagecache/670x490/cover/803671.jpeg





    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น